วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด


เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด

ประวัติความเป็นมา

การทำเครื่องปั้นดินเผาเกาะเก็ด ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สืบทอดมาจากบรรพบุรุษชนชาติมอญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่าคงจะมีอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่อยู่เมืองมอญก่อนที่จะอพยพเข้ามาในประเทศไทยซึ่งมีความชำนาญในด้านนี้โดยเฉพาะ เมื่อชาวมอญได้รับพระบรมราชานุญาต ตั้งบ้านเรือนบริเวณปากเกร็ด และพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพดินเหมาะสมคือ ดินมีความเหนียวดี สีนวลหรือปนเหลืองไม่ดำเกินไป เนื้อดินจับกันเป็นก้อน ไม่ร่วนซุยเป็นดินที่พบได้บริเวณเกาะเกร็ด ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียง คือ หม้อน้ำลายวิจิตรซึ่งทำขึ้นเพื่อถวายพระสงฆ์ และเป็นของกำนัลให้แก่ผู้ใหญ่ ทางราชการจึงถือเอาหม้อน้ำลายวิจิตร เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดนนทบุรี นอกจากนี้ยังมีรูปทรงอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โอ่ง อ่าง ครก กระปุก โอ่งพลู เป็นต้น หรือมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ เช่น โคมไฟดินเผาแกะสลัก นาฬิกาดินเผาแกะลาย โคมเทียน เป็นต้น

เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เกือบจะสูญหายไปเนื่องจากปัญหาน้ำท่วม ในราวปี พ.ศ.2539 ชาวบ้านได้รวมตัวขึ้นอีกครั้งเพื่อรักษาภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ประกอบกับในขณะนั้นนักท่องเที่ยวได้เข้ามาท่องเที่ยวบริเวณเกาะเกร็ด จึงทำให้เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดได้รับความนิยมขึ้นอีกครั้ง และในปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดได้พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่ม เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

ลักษณะที่โดดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด คือ มีเนื้อแดงส้ม ใช้เนื้อดินเหนียวธรรมชาติปั้นและเผาโดยไม่มีการเคลือบน้ำยา มีสีสันสวยงามตามธรรมชาติ ขอบปากของภาชนะเครื่องปั้นดินเผาจะกลมกลึงราวกับกระบอกไม้ไผ่ผ่า และบรรจงประดิษฐ์ลวดลายที่ละเอียดสวยงามลงในเนื้อดินขณะที่ยังไม่แข็งตัว แล้วจึงนำดินไปเผา

วัตถุดิบในการผลิต

๑. ดินเหนียวธรรมชาติ (เดิมหาได้จากบริเวณเกาะเกร็ด)

๒. น้ำ

๓. เครื่องโม่ดิน

๔. จอบ,เสียมหรือพลั่ว

๕. ตระแกรงร่อนดิน

๖. แป้นหมุน

๗. อุปกรณ์ในการแกะลวดลาย

นำดินเหนียวธรรมชาติมาซอย (เซี้ยมในให้เป็นแผ่นบาง หมักน้ำโดยประมาณไว้ก่อน) แล้วจึงนำดินมาเข้าเครื่องโม่ (สมัยโบราณใช้วิธีเหยียบและนวดก่อนนำมาปั้น)

เมื่อได้ดินจากการโม่แล้ว จึงนำมาขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ตามแบบและขนาดของเครื่องปั้นที่ต้องการตามรูปต่างๆ เช่น กระปุก หม้อ คนโฑ ขันน้ำพานรอง จนปัจจุบันดัดแปลงมาเป็นโคมสำหรับใช้กับหลอดไฟฟ้า (เพื่อเข้ากับสมัยและยุคปัจจุบันพร้อมทั้งให้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น) นำผลิตภัณฑ์ที่ปั้นแล้วออกผึ่งแดด ผึ่งลม พอความแข็งตัวของเนื้อดินจับยกได้ โดยไม่ทำให้เสียรูปทรง จึงนำขึ้นแป้นขูดแต่งอีกครั้ง เพื่อให้ได้รูปทรงและความหนาบางของเนื้อดินตามแบบและความต้องการจนเสร็จ จากนั้นจะผึ่งไว้จนเนื้อดินมีความแข็งตัวพอที่จะขัด หรือขูดแต่งให้เรียบร้อยสวยงามอีกครั้งแล้วจึงนำไปเข้าเตาเผา

ตั้งแต่เริ่มต้นจนผลิตภัณฑ์เผาเสร็จ เป็นการจบกระบวนการผลิตใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 วัน (ถ้าเป็นการแกะสลักลายที่มีความละเอียดมากๆ ต้องใช้เวลาแกะสลัก 2-3 วัน/ชิ้นงาน)

การแกะสลักลวดลาย

ลายที่แกะสำหรับตกแต่งเครื่องปั้นมี 3 ประเภท ตามลักษณะของวิธีการแต่งลาย คือ

1.ลายที่เกิดจากการขีดหรือสลัก

2. ลายที่เกิดจากการฉลุลายโปร่ง

3. ลายที่เกิดจากการกดให้เนื้อดินนูนขึ้น หรือต่ำลงตามแบบของลาย

เทคนิคการผลิต

ดินที่ใช้เป็นดินเหนียวธรรมชาติ ที่มีสิ่งเจือปนต่างๆน้อยมาก การเตรียมดินจะทำอย่างพิถีพิถันโดยผ่านกระบวนการ ต่างๆ จนได้เนื้อดินที่สมบูรณ์เหมาะแก่การนำไปปั้นเพื่อให้รูปทรงเครื่องปั้นเรียบสวยงาม

การเผานั้น ใช้อุณหภูมิที่ 800 องศาเซลเซียส จนได้เครื่องปั้นดินเผาที่มีสีส้มและแกร่งตามลักษณะธรรมชาติ

http://www.otoptoday.com/wisdom/provinces/center/%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5/1310022341

งานจักสานหวายบ้านบุทม





งานจักสานหวายบ้านบุทม




งานทุกชิ้นทำด้วยมือทั้งสิ้น ช้ลวดลายดั้งเดิม คือ ลายลูกกรง เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์สวยงาม แข็งแรง เพราะใช้หวายทั้งต้น เหมาะกับการใช้งาน รูปแบบดั้งเดิม พัฒนามาสู่ตลาดสากล ใช้หวายเส้นเล็ก (หวายหางหนู) ที่มีความเหนียวและผิวมัน ปัจจุบันหวายบ้านบุทม ได้รับรองมาตรฐานชุมชนจากกระทรวงอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว]

1.ประวัติบ้านบุทม

บ้านบุทม (เบาะทม) เป็นภาษาเขมร "เบาะ" แปลว่า ที่ดอนที่เต็มไปด้วยป่า แต่ถูกถากถางทำไร่ และ "ทม" แปลว่าใหญ่ รวมความว่า ที่รกไปด้วยป่า ถากถางทำไร่ขนาดใหญ่เช่นกัน

บ้านบุทม หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพจักสานหวายเกือบทุกครัวเรือน โดยทำนาเป็นอาชีพหลักและทำจักสานเป็นอาชีพเสริม ที่สามารถทำได้ตลอดฤดูกาล ซึ่งสานมาแล้วกว่า 60 ปี

2.ความเป็นมาในการจักสานหวายบ้านบุทม

เร่มแรกโดยในปี 2473 นายลีง เลิศล้ำและญาติพี่น้องอีก 2 คน ประกอบด้วยนายเหลี่ยม ภาสวัสดี และนายพัน กล้ายิ่ง ได้เรียนรู้การจักสานหวายมาจากเรือนจำจังหวัดสุรินทร์ เมื่อได้รับอิสรภาพจึงได้ประกอบอาชีพจักสานตะกร้าหวายเลี้ยงครอบครัวตลอดมา และได้สืบทอดให้ลูกหลานสืบต่อมา

ปี 2527 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้ริเริ่มฟื้นฟูหมู่บ้านพัฒนาอาชีพ ชาวบ้านบุทมจึงได้รับการส่งเสริมจักสานหวายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว โดยการถ่ายทอดความรู้จาก 3 ครอบครัว ขยายสู่ครอบครัวในชุมชนทุกหลังคาเรือน

ต่อมาจึงจัดตั้งกลุ่มโดยได้รับการสนับสนุนจากสภาสตรีออสเตรีย เป็นเงินจำนวน 48,889 บาท แต่ต้องล้มเลิกไป เนื่องจากชาวบ้านขาดความรู้ ทางด้านการบริหาร การจัดการเรื่องเงินทุนและการตลาด

ปี 2533 อาจารย์สุเทพ ศรีลานุช อาจารย์โรงเรียนบ้านบุทม ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี ทำการเก็บข้อมูลด้านอาชีพ การเรียนรู้ของชาวบ้านและได้สรุปผลการวิจัยปี 2535 และได้นัดหมายกลุ่มชาวบ้านมาประชุมที่โรงเรียนบ้านบุทม เพื่อจัดตั้งกลุ่มในปี 2538 สมาชิกเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่ ร่วมกับหัตถกรรมอื่นอีก 3 กลุ่ม จัดตั้งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานหวาย

ปัจจุบัน "กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม" มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ รวม 338 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ก็นั่งทำหวายอยู่ที่บ้าน ช่วงพักผ่อนดูทีวี หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่ม

ปัจจุบัน "กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม" มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ รวม 338 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ก็นั่งทำหวายอยู่ที่บ้าน ช่วงพักผ่อนดูทีวี หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่มฯ


ปัจจุบัน "กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุท

ายอยู่ที่บ้าน ช่วงพักผ่อนดูที

ม" มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ รวม 338 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ก็นั่งทำหว

วี หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่มฯ

3.ชนิดของหวาย

หวายที่พบในจังหวัดสุรินทร์ และแนวชายแดนประเทศกัมพูชา ชาวบ้านเรียกชื่อต่างกันว่า เช่น "หวายหางหนู" ซึ่งเป็นหวายที่มีความเหนียว เส้นเล็กมีผิวมันในตัว "หวายน้ำ" ลำต้นใหญ่เท่านิ้วก้อย ชอบขึ้นริมน้ำ ชาวบ้านนำมาจักสานเช่นกัน โดยเฉพาะชาวบ้านบุทม จังหวัดสุรินทร์ นำหวายหางหนูและหวายน้ำ มาทำจักสานตะกร้าชนิดต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น หวาย มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถดัดได้ มีความเหนียวเป็นลักษณะเฉพาะ มีลำต้นขนาดเท่ากันตามชนิด มีความมันในระดับผิว จึงเหมาะต่อการจักสาน ทำเฟอร์นิเจอร์ ขนาดของลำต้นจะมีตั้งแต่ 3 - 60 มม. ความยาวตามสิ่งแวดล้อม เช่น อาศัยไม้ที่ปีนป่ายมีความยาวตั้งแต่ 10-20 เมตร อายุการใช้งาน 7-10 ปี หวายมีหลายชนิด ทุกประเภททำจักสาน เฟอร์นิเจอร์ และเป็นอาหาร รวม 23 ชนิด หวายที่ทำจักสานในบ้านบุทมใช้หวาย 3 ชนิด

3.1 หวายหางหนู หรือ หวายตะค้าทอง เปลือกผิวสีเหลือง มีความเหนียว เส้นเท่า ๆ กัน เป็นหวายเส้นเล็กมีขนาดยาว 10 -15 เมตร เลื้อยตามต้นไม้ ขึ้นในป่าทึบ มีความชื้น ใช้ลำต้นแก่จัด อายุ 6 -7 ปี นำมาดัดทำลายลูกกรง และผ่าเป็นเส้นเล็ก ๆ รีดเป็นเส้นเล็ก ๆบาง ๆ เพื่อทำจักสานต่าง ๆ หรือใช้ร้อยรัดเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน


3.2 หวายน้ำ เป็นหวายเส้นใหญ่กว่าหวายหางหนู ลำต้นกลม ใหญ่ประมาณนิ้วก้อยผู้ใหญ่ มีความยาว 8 -10 เมตร ชอบขึ้นตามริมน้ำ เช่น แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ใช้ทำโครงสร้างของงานจักสานหรือนำมาจักตอกเป็นเส้นก็ได้

3.2 หวายนิ่ม เปลือกสีผิวมันวาวคล้ายหวายตะค้าทอง ลำต้นยาวเสมอ ขนาดเท่ากับหวายน้ำซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 -15 มม. แต่มีลำต้นยาวถึง 10-50 เมตร ขึ้นในป่าดิบ ใช้ทำโครงสร้างงานจักสาน อ่อนนิ่ม ดัดง่าย แก่เนื้อเหนียว

4.การเตรียมวัสดุและเครื่องมือในการจักสานหวาย

4.1 เตรียมหวายต่าง ๆ และไม้ก้างปลา

- คัดหวาย เส้นเล็กเอาไว้ทำลูกกรง

- หวายน้ำ เอาไว้ทำโครงสร้างตะกร้าดัดเป็นรูปทรง

- ไม้ก้างปลา เอาไว้ทำโครงสร้างรูปทรงต่างๆ

- นำวัตถุดิบแต่ละอย่างแช่น้ำพอประมาณ (20-30 นาที) ต้องน้ำบ่อ หรือน้ำฝนจึงจะดี

4.2 เตรียมเครื่องมือต่าง ๆ (มีดตอก เหล็กแหลม แป้นรีดหวาย ค้อน ไม้ดัดลูกกรง)





5. วิธีการและขั้นตอนการจักสานหวาย

. ขั้นตอนการผลิต

5.1 การผ่าหวาย เลือกหวายผ่าประมาณ 10 ต้น ควรเลือกลำต้นใหญ่กว่าลูกกรง หวาย 1 ต้น ควรผ่าให้ได้อย่างน้อย 4 ส่วน จนสุดลำต้น เทคนิคการผ่ามีดต้องคม ผ่าจากปลายไปหาโคน โดยใช้กำลังมือตั้งมีดตอก และใช้มืออีกข้างดันหวายตามความถนัด บังคับอย่าให้บิดเบี้ยว หวายจะขาดกลางลำ



5.2 รีดหวาย ใช้มีดตอกรีดเอาไส้หวายออกให้เหลือส่วนที่เป็นเปลือกเท่านั้นจากนั้นสอดเข้าไปในรูแป้น รีดหวายทีละเส้น ค่อยๆ ดึงจนสุดเส้นหวาย และควรรีดให้ได้ขนาดเท่ากันเส้นหวายจะได้เป็นระเบียบสวยงาม


5.3 ตีลายลูกกรง ให้นำหวายหางหนูที่แช่น้ำ 10 ต้น มาดัดลูกกรงครั้งละ 2 - 4 ต้นจนครบ 10 ต้น และสุดลำต้น โดยใช้หวายวางทาบบนไม้ดัดลูกกรง และใช้ค้อนทุบเบา ๆ พอให้หวายหักมุมเท่านั้น


5.4 ดัดรูปทรงตะกร้า (กลม,เหลี่ยม,รี และอื่น ๆ)

5.5 การทำฐาน (ก้นตะกร้า)

5.5.1 นำไม้เจลยมาดัดเป็นวงกลมวงที่ 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 28 ซ.ม. หรือตามต้องการใช้ตะปูเข็มตอกยึดเอาไว้ จากนั้นใช้เส้นหวายที่รีดแล้วพันรอบวงกลม โดยพันเว้นช่องแต่พองาม

5.5.2 นำหวายน้ำที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ตีทับวงที่ 1 ใช้ตะปูเข็มตอก แล้วใช้เส้นหวายที่รีดมาพันรอบวงกลมทั้ง 2 วงให้ติดกันจนครบรอบวงกลม


5.5.3 ใช้หวายน้ำ 2 เส้น ที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ใช้ตะปูเข็มตอกยึดรอบวง เพื่อเป็นฐานรองรับก้นตะกร้าให้แข็งแรง

3.5.4 นำไม้เจลยจำนวน 8 ท่อน มีขนาดยาวเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมตะกร้าตีกากะบาท 8 มุมตอกตะปูยึดกับวงกลม

3.5.5 ใช้เส้นหวายที่รีดแล้ว สานเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมคล้ายใยแมงมุม ความกว้างพอประมาณ (5 ซ.ม.)


5.5.6 ใช้หวายหางหนูทั้งต้นที่เลือกไว้มีขนาดเท่ากัน นำมาขดให้เต็มวงกลมคล้ายขดยากันยุงใช้เส้นหวายสานยึดแต่ละเส้นจนครบ สิ้นสุดการทำก้นตะกร้าโดยสมบูรณ์

5.6 การขึ้นลูกกรง

5.6.1 การขึ้นลูกกรง นำเหล็กแหลมเจาะที่ขอบฐานตะกร้าให้เป็นรู 5-7 ที่ตามจำนวนลูกกรง จากนั้นนำหวายลูกกรงที่เตรียมไว้เหลาปลายต้นทั้ง 5-7 ให้แหลม ใช้ปลายแหลมของลูกกรงสอดลงไปในรูที่เจาะไว้ ต่อจากนั้นใช้มือดัดลูกกรงขึ้นเป็นลวดลาย ใช้เส้นหวายสานยึดติดกับขอบฐานจนครบ

5.6.2 การใส่ขอบขั้น 1 (ภาษาพื้นเมืองสุรินทร์เรียกว่า ใส่กะนับ หรือ เอวตะกร้า) โดยนำต้นเจลยที่ดัดเป็นวงกลม มาวางทับกับลูกกรงชั้นที่ 1 ใช้เส้นหวายที่รีดแล้วสานยึดวงกลมกับลูกกรงไว้จนครบรอบวงกลม

5.6.3 นำหวายน้ำที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ตีทับบนขอบวงกลมที่ 1 ตอกตะปูยึดทั้งสองวงกลมจนครบรอบ เสร็จตัวกระจาด 1 ชั้น ต่อไปก็เป็นการ ทำหูจับ

5.7 การทำหูจับ (มือจับ, หูหิ้ว)

5.7.1 ใช้หวายน้ำที่มีขนาดใหญ่พอสมควร มาดัดเป็นรูปโค้ง ใช้ตะปูตอกยึดทั้ง 2 ข้างติดกับฐานตะกร้าและขอบปากตะกร้าโค้งขนาดพอที่จะสอดนิ้ว 4 นิ้ว ได้เป็นหูจับ

5.7.2 นำหวายมาทาบบนขอบตะกร้า และหูจับให้โค้งตาม ใช้ตะปูเข็มตอกยึดติดกันไว้โดยรอบ

5.7.3 ใช้เส้นหวายรีดพันรอบขอบปากตะกร้าและหูจับ เว้นช่องแต่ละช่องให้ พองามต่อไปก็สานจูงนางเพื่อให้เป็นลวดลายสวยงาม

6.การตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงาม

1. การทำความสะอาดเมื่อตะกร้าสกปรก มีเชื้อรา ฝุ่นจับ โดยมากชาวบ้านใช้วิธีธรรมชาติ เช่น นำผลมะเฟืองสุกรสเปรี้ยว ถูที่ตัวตะกร้าหรือจะเป็นมะนาวก็ได้ ต่อจากนั้นจึงล้างตากให้แห้งจะได้ตะกร้าที่สะอาด สวยงามตามธรรมชาติ

2. การทาน้ำมัน เพื่อให้ตะกร้ามีเงา ผิวมันสวยเป็นสีไม้ธรรมชาติ และป้องกันเชื้อราได้ด้วย ควรใช้น้ำมันวานิชสีใสเคลือบเงาหรือแลคเกอร์เบอร์ 6 ทาตามวิธีที่กำหนดในกระป๋อง

7.การดูแลรักษาหวาย

1. ผึ่งแดดให้แห้งสนิท

2. ไม่ควรเก็บหวายไว้ในที่ชื้น พื้นซีเมนต์ควรมีอากาศถ่ายเทได้

3. ใส่สิ่งของให้เหมาะกับขนาดตะกร้า

8.รายได้ของกลุ่มสานหวายบ้านบุทม

เงินที่ขายได้ทางกลุ่มจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 70 % ให้สมาชิกเป็นค่าผลิต 20 % เป็นเงินสวัสดิการคืนสมาชิกทั้งในรูปของผลกำไรปลายปี การรักษาพยาบาลต่าง ๆ และอีก 10 % เป็นค่าบริการจัดการของกลุ่ม นอกจากนี้การช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สามัคคีกันดังเช่นมัดหวายที่ร้อยสานกันเป็นรูปทรงที่สวยงามแข็งแรง ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มจึงจัดให้มีกิจกรรมออมทรัพย์ให้สมาชิกได้กู้เงินไปใช้จ่ายในการลงทุน รวมทั้งใช้ในสิ่งจำเป็นต่าง ๆ

บทสรุป

"หัตถกรรมหวายบ้านบุทม" อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ นอกจากจะสะดุดตากับพาชนะที่ทำมาจากหวายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่สวยงามแล้ว ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ชวนให้ผู้มาเยือน ตลอดจนลูกค้าต้องหันไปอ่านอย่างชื่นชม มันแสดงอะไรหลาย ๆ อย่างให้ผู้พบเห็นได้รับทราบ ทั้งความเป็นมา ความคิด และผลสำเร็จของชาวบุทม

เราควรช่วยกันส่งเสริมและอนุรักษ์งานหัตถกรรมท้องถิ่นไว้ให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป

นุชโกสินทร์ ศรีลา. การสานหวายบ้านบุทม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.mapculture.org

/index.php?option=com_content&task=view&id=326&Itemid=57, สืบค้น 1 ตุลาคม 2553.

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย








ประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผาไทย
ยุคหินกลาง พบเครื่องปั้นดินเผาผิวเคลือบมีความเงาและเครื่องปั้นดินเผา ลายเชือกทาบ
สมัยหินใหม่ พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีรูปแบบและลวดลายแปลกใหม่เพิ่มขึ้นทีมีทั้งลายเรียบๆ ธรรมดาไปจนถึงลายที่มีความวิจิตรงดงามมาก ภาชนะสมัยหินใหม่ตอนต้นมีจุดเด่นคือ มีที่รองรับถาวร
บ้างก็เป็นขากลวง 3 ขา มีรูเจาะไว้ 3 รู เพื่อไล่อากาศ
ยุคโลหะ ในยุคนี้ได้ถือเอางานเครื่องปั้นดินเผาเป็นหัตถกรรมดั้งเดิม ที่ค่อยๆ วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีขึ้นเรื่อยๆ
เครื่องปั้นดินเผาที่นิยมมากในวัฒนธรรมของซานคือ การทำลายเส้นขนาน ลายรูปสามเหลี่ยม ลายก้นขด ลายวงกลม ลายทแยง
เครื่องปั้นดินเผาสมัยทวารวดี แบ่งออกเป็น 6 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 ใช้เหล็กสัมฤทธิ์ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆ
ระยะที่ 2 เครื่องปั้นดินเผาในระยะนี้ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย เป็นแบบเรียบสีแดง
ระยะที่ 3 ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เก่าแก่ที่สุดที่ ต. จันเสน พยุหะคีรี พบวัตถุชิ้นเล็กๆ 2 ชิ้นเคลือบสีน้ำตาลอมเขียวเนื้อแกร่ง นอกจากนี้ยังมีเครื่องปั้นดินเผาอื่นที่เนื้อแกร่งและสีมัน สวยงามมาก
ระยะที่ 4 ได้พบเครื่องปั้นดินเผามากขึ้น แสดงว่า ต.จันเสน ไม่ใช่หมู่บ้านเล็กๆ แล้ว
ระยะที่ 5 พบรูปสิงโตดินเผา รูปปั้นผู้ชาย เครื่องปั้นดินเผาในยุคนี้แบ่งเป็น 2 แบบคือ
แบบที่ 1 : พบเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายต่างๆ ประทับอยู่ เช่น ลายช้าง หงส์ วัวและนักรบ
แบบที่ 2 : พบไหปากผาย รอบปากสีแดงและขาว
ระยะที่ 6 พบเครื่องปั้นดินเผาเพียง 2 – 3 แบบ แต่ดูเหมือนว่าจะเผาในเตาอย่างแท้จริง ไม่ได้เผากลางแจ้งเหมือนแต่ก่อน แม้ว่าจะไม่ได้เผาเคลือบแต่ก็เผาได้อย่างสม่ำเสมอและแข็งดี
เครื่องปั้นดินเผาในสมัยศรีวิชัย พบเครื่องปั้นดินเผาในบริเวณสนามบิน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยลพบุรี ได้พบเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีน้ำตาล (ไทยขอม) เป็นทั้งรูปคนและสัตว์ และเครื่องปั้นดินเผาสีน้ำตาลและน้ำเงินอ่อนคล้ายสังคโลก
เครื่องปั้นดินเผาเชียงแสน ยุคนี้สามารถทำเคลือบได้หลายชนิด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนความคิดระหว่างไทยกับจีน
เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัย มีการทำเครื่องปั้นดินเผาไฟสูงเลียนแบบจีนเป็นสินค้าส่งออก อีกอย่างหนึ่งเรียกว่าสังคโลก การผลิตเป็นการทำงานแบบอุตสาหกรรม สีของเครื่องเคลือบมักเป็นสีเขียวไข่กา
มีสีน้ำตาลบ้าง ประปราย อีกทั้งยังพบเตาเผาถึง 49 เตา ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าในสมัยสุโขทัยได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรม


สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ 1 เริ่มฟื้นฟูเครื่องปั้นดินเผา แต่เป็นการสั่งทำจากเมืองจีน โดยให้ช่างหลวงเขียนตัวอย่างลายไทยและส่งช่างไทยไปควบคุมการเขียนลวดลายให้เหมือนด้วย เครื่องปั้นดินเผาที่สั่งทำส่วนใหญ่เป็นพวกจาน ชาม โถ กระโถนและถ้วย ลายที่เขียนเป็นลายไทยและเขียนสีบนพื้นถ้วยขาวบ้าง เขียนสีเบญจรงค์บ้าง ตัวอย่าง เช่น ชามลายก้นขด เขียนสีบนพื้นถ้วย เช่น เขียนรูปครุฑ ราชสีห์ และเทพนม ปรากฏว่าฝีมือดีกว่าสมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยรัชกาลที่ 2 ฝีมือช่างเขียนไทยเจริญมากขึ้น เครื่องถ้วยชามที่สั่งทำจากประเทศจีน ก็คิดแก้ไขรูปทรงและลวดลาย มีลายประดิษฐ์ใหม่ เช่น ลายดอกกุหลาบ ส่วนลายแบบจีน เช่น ลายดอกไม้จีน ลายสิงโต ก็นำมาปรับเขียนใหม่ให้เข้ากับความนิยมของคนไทย โดยใช้สีทองเขียนประกอบ เครื่องถ้วยของไทยที่นิยมกันมากในปัจจุบันคือ เครื่องถ้วยที่สั่งทำในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่เรียกว่า ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทร์ (สมเด็จพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 2 ) ทั้งนี้เพราะทรงเป็นพระธุระในการสั่งทำ สมัยรัชกาลที่ 3 มีการสั่งของจากต่างประเทศเท่าที่จำเป็น แต่พระองค์ทรงทำนุบำรุงฟื้นฟูเครื่องปั้นดินเผาในประเทศ กล่าวคือ ทรงทำนุบำรุงการทำกระเบื้องเคลือบมุงหลังคา กระเบื้องเคลือบสีเป็นเครื่องประดับ โดยใช้เตาเผาแบบเตาทุเรียง ซึ่งสร้างที่วัดสระเกศสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากราชทูตไทยซึ่งไปประเทศจีนเมื่อ พ.ศ. 2395 ถูกผู้ร้ายปล้นจึงไม่มีการส่งราชทูตไปประเทศจีนอีก รวมทั้งไม่มีการส่งช่างไทยไปตรวจตราการทำเครื่องปั้นดินเผาด้วย การสั่งทำเครื่องดินเผาจากประเทศจีนเป็นเรื่องของพ่อค้าในกรุงเทพฯ เป็นผู้สั่งลายคราม เครื่องถ้วยชามที่สั่งจากจีนจึงเป็นลายคราม เขียนลายจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ลายน้ำทองมีสั่งบ้างโดยให้แบบลายไทยไปทำ แต่ฝีมือสู้ครั้งสมัยรัชกาลที่ 2 ไม่ได้สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะที่เจริญรุ่งเรืองมาก การศึกษาวิชาการก็ขยายตัวแพร่หลาย เครื่องถ้วยชามที่สั่งเข้ามาค้าขายในเมืองไทยก็มีทั้งของจีน ญี่ปุ่นและฝรั่ง ในสมัยนั้นนิยมใช้ของฝรั่งลวดลายฝรั่งกันมาก แต่ที่สั่งทำเป็นรูปทรงแบบไทยก็มีมาก ของญี่ปุ่นโดยมากเป็นถ้วยชามและเครื่องแต่งเรือน ทั้งนี้เป็นเพราะญี่ปุ่นเริ่มทำเลียนแบบของจีนได้ดี ในสมัยนั้นในเมืองไทยมีการทำกันเฉพาะการเขียนลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผาเท่านั้นสมัยรัชกาลที่ 6 ประเทศไทยเริ่มมีโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทเนื้อหยาบ เช่น กระถาง โอ่ง อ่างและไห ซึ่งมีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบสมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ. 2475 หลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลพยายามจะฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติ โดยการส่งเสริมให้มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมากขึ้น เครื่องปั้นดินเผาเป็นอุตสาหกรรมหนึ่ง ที่ได้รับการส่งเสริม และมีผู้สนใจทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว ในภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ขณะนั้นคือ โอ่ง อ่าง และไห ผลิตภัณฑ์เนื้อดีที่ผลิตได้บ้างก็ใช้วัตถุดิบจากต่างประเทศสมัยรัชกาลที่ 8 และสมัยรัชกาลที่ 9 (สมัยปัจจุบัน) การประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาหรืออุตสาหกรรมเซรามิกส์ ถ้าจะให้ได้ผลดีจะต้องอาศัยหลักวิชาการและเทคโนโลยีเข้าร่วม ประกอบกับคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ การพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิกส์ด้านวิชาการและเทคโนโลยีในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน มีส่วนช่วยเป็นอันมากในปี พ.ศ. 2478 กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้เริ่มดำเนินงานเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 ได้เริ่มมีการพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา โดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปรับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในต่างประเทศแล้วกลับมาพัฒนาบุคลากรของกรมด้านวิชาการและเทคโนโลยี และได้ทำการศึกษาวิจัยวัตถุดิบ โดยการสำรวจ วิเคราะห์ และทดสอบ วัตถุดิบภายในประเทศ เช่น ดินและหินชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ผลจากการสำรวจและการวิเคราะห์วิจัย พบว่า ประเทศไทยมีวัตถุดิบชนิดดีปริมาณมาก สามารถใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดดีได้ เป็นผลให้มีการลงทุนสร้างโรงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นอีกมากในปี พ.ศ. 2503 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ได้ประกาศให้การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2503 - พ.ศ. 2508 จึงมีโรงงานอุตสากรรมเซรามิกส์เกิดขึ้น 8 แห่ง ที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้มีกระเบื้องปูพื้น กระเบื้องบุผนัง กระเบื้องโมเสค และเครื่องสุขภัณฑ์ และในปี พ.ศ. 2508 นี้เอง สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี ได้สนับสนุนโดยให้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปลายแผนที่ 1 จนถึงแผนที่ 4 ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซรามิกส์ได้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างมาก มีโรงงานเซรามิกส์ขนาดใหญ่ประมาณ 10 โรงงาน ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง โรงงานขนาดเล็กอีกหลายร้อยโรงงานกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดลำปาง มีอยู่ประมาณ 50 โรงงาน โรงงานเหล่านี้ผลิตถ้วย ชาม เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องโลหะเคลือบ โมเสค กระเบื้องปูพื้น กระเบื้องประดับ ผนังเครื่องฉนวนไฟฟ้า และอิฐก่อสร้าง ปริมาณการผลิตพอเพียงต่อการใช้ภายในประเทศและยังส่งออกขายยังต่างประเทศในปี พ.ศ. 2528 ประมาณ 500 ล้านบาทในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน มีหน่วยงานในสังกัด 2 หน่วยงาน ซึ่งทำการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิกส์ คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วพป. วศ.) และสาขาวิจัยอุตสาหกรรมโลหะและเซรามิกส์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (สวซ. วท.)
www school.obec.go.th/webpwtk/kosara/k_drra/padi