งานจักสานหวายบ้านบุทม
1.ประวัติบ้านบุทม
บ้านบุทม (เบาะทม) เป็นภาษาเขมร "เบาะ" แปลว่า ที่ดอนที่เต็มไปด้วยป่า แต่ถูกถากถางทำไร่ และ "ทม" แปลว่าใหญ่ รวมความว่า ที่รกไปด้วยป่า ถากถางทำไร่ขนาดใหญ่เช่นกัน
บ้านบุทม หมู่ที่ 4 ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพจักสานหวายเกือบทุกครัวเรือน โดยทำนาเป็นอาชีพหลักและทำจักสานเป็นอาชีพเสริม ที่สามารถทำได้ตลอดฤดูกาล ซึ่งสานมาแล้วกว่า 60 ปี
2.ความเป็นมาในการจักสานหวายบ้านบุทม
เร่มแรกโดยในปี 2473 นายลีง เลิศล้ำและญาติพี่น้องอีก 2 คน ประกอบด้วยนายเหลี่ยม ภาสวัสดี และนายพัน กล้ายิ่ง ได้เรียนรู้การจักสานหวายมาจากเรือนจำจังหวัดสุรินทร์ เมื่อได้รับอิสรภาพจึงได้ประกอบอาชีพจักสานตะกร้าหวายเลี้ยงครอบครัวตลอดมา และได้สืบทอดให้ลูกหลานสืบต่อมา
ปี 2527 สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้ริเริ่มฟื้นฟูหมู่บ้านพัฒนาอาชีพ ชาวบ้านบุทมจึงได้รับการส่งเสริมจักสานหวายเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน เพื่อเสริมรายได้ให้กับครอบครัว โดยการถ่ายทอดความรู้จาก 3 ครอบครัว ขยายสู่ครอบครัวในชุมชนทุกหลังคาเรือน
ต่อมาจึงจัดตั้งกลุ่มโดยได้รับการสนับสนุนจากสภาสตรีออสเตรีย เป็นเงินจำนวน 48,889 บาท แต่ต้องล้มเลิกไป เนื่องจากชาวบ้านขาดความรู้ ทางด้านการบริหาร การจัดการเรื่องเงินทุนและการตลาด
ปี 2533 อาจารย์สุเทพ ศรีลานุช อาจารย์โรงเรียนบ้านบุทม ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษากลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี ทำการเก็บข้อมูลด้านอาชีพ การเรียนรู้ของชาวบ้านและได้สรุปผลการวิจัยปี 2535 และได้นัดหมายกลุ่มชาวบ้านมาประชุมที่โรงเรียนบ้านบุทม เพื่อจัดตั้งกลุ่มในปี 2538 สมาชิกเห็นพ้องต้องกันให้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่ ร่วมกับหัตถกรรมอื่นอีก 3 กลุ่ม จัดตั้งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานหวาย
ปัจจุบัน "กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม" มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ รวม 338 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ก็นั่งทำหวายอยู่ที่บ้าน ช่วงพักผ่อนดูทีวี หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่ม
ปัจจุบัน "กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุทม" มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ รวม 338 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ก็นั่งทำหวายอยู่ที่บ้าน ช่วงพักผ่อนดูทีวี หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่มฯ
ปัจจุบัน "กลุ่มหัตถกรรมหวายบ้านบุท
ายอยู่ที่บ้าน ช่วงพักผ่อนดูที
ม" มีสมาชิกเพิ่มขึ้นไม่เพียงเฉพาะบ้านบุทมเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายอีก 3 ตำบล ในจังหวัดสุรินทร์ รวม 338 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ก็นั่งทำหว
วี หลังจากทำเสร็จแล้วก็จะนำมาฝากขายที่กลุ่มฯ
3.ชนิดของหวาย
หวายที่พบในจังหวัดสุรินทร์ และแนวชายแดนประเทศกัมพูชา ชาวบ้านเรียกชื่อต่างกันว่า เช่น "หวายหางหนู" ซึ่งเป็นหวายที่มีความเหนียว เส้นเล็กมีผิวมันในตัว "หวายน้ำ" ลำต้นใหญ่เท่านิ้วก้อย ชอบขึ้นริมน้ำ ชาวบ้านนำมาจักสานเช่นกัน โดยเฉพาะชาวบ้านบุทม จังหวัดสุรินทร์ นำหวายหางหนูและหวายน้ำ มาทำจักสานตะกร้าชนิดต่าง ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น หวาย มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถดัดได้ มีความเหนียวเป็นลักษณะเฉพาะ มีลำต้นขนาดเท่ากันตามชนิด มีความมันในระดับผิว จึงเหมาะต่อการจักสาน ทำเฟอร์นิเจอร์ ขนาดของลำต้นจะมีตั้งแต่ 3 - 60 มม. ความยาวตามสิ่งแวดล้อม เช่น อาศัยไม้ที่ปีนป่ายมีความยาวตั้งแต่ 10-20 เมตร อายุการใช้งาน 7-10 ปี หวายมีหลายชนิด ทุกประเภททำจักสาน เฟอร์นิเจอร์ และเป็นอาหาร รวม 23 ชนิด หวายที่ทำจักสานในบ้านบุทมใช้หวาย 3 ชนิด
3.1 หวายหางหนู หรือ หวายตะค้าทอง เปลือกผิวสีเหลือง มีความเหนียว เส้นเท่า ๆ กัน เป็นหวายเส้นเล็กมีขนาดยาว 10 -15 เมตร เลื้อยตามต้นไม้ ขึ้นในป่าทึบ มีความชื้น ใช้ลำต้นแก่จัด อายุ 6 -7 ปี นำมาดัดทำลายลูกกรง และผ่าเป็นเส้นเล็ก ๆ รีดเป็นเส้นเล็ก ๆบาง ๆ เพื่อทำจักสานต่าง ๆ หรือใช้ร้อยรัดเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน
3.2 หวายน้ำ เป็นหวายเส้นใหญ่กว่าหวายหางหนู ลำต้นกลม ใหญ่ประมาณนิ้วก้อยผู้ใหญ่ มีความยาว 8 -10 เมตร ชอบขึ้นตามริมน้ำ เช่น แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ใช้ทำโครงสร้างของงานจักสานหรือนำมาจักตอกเป็นเส้นก็ได้
3.2 หวายนิ่ม เปลือกสีผิวมันวาวคล้ายหวายตะค้าทอง ลำต้นยาวเสมอ ขนาดเท่ากับหวายน้ำซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 -15 มม. แต่มีลำต้นยาวถึง 10-50 เมตร ขึ้นในป่าดิบ ใช้ทำโครงสร้างงานจักสาน อ่อนนิ่ม ดัดง่าย แก่เนื้อเหนียว
4.การเตรียมวัสดุและเครื่องมือในการจักสานหวาย
4.1 เตรียมหวายต่าง ๆ และไม้ก้างปลา
- คัดหวาย เส้นเล็กเอาไว้ทำลูกกรง
- หวายน้ำ เอาไว้ทำโครงสร้างตะกร้าดัดเป็นรูปทรง
- ไม้ก้างปลา เอาไว้ทำโครงสร้างรูปทรงต่างๆ
- นำวัตถุดิบแต่ละอย่างแช่น้ำพอประมาณ (20-30 นาที) ต้องน้ำบ่อ หรือน้ำฝนจึงจะดี
4.2 เตรียมเครื่องมือต่าง ๆ (มีดตอก เหล็กแหลม แป้นรีดหวาย ค้อน ไม้ดัดลูกกรง)
5. วิธีการและขั้นตอนการจักสานหวาย
. ขั้นตอนการผลิต
5.1 การผ่าหวาย เลือกหวายผ่าประมาณ 10 ต้น ควรเลือกลำต้นใหญ่กว่าลูกกรง หวาย 1 ต้น ควรผ่าให้ได้อย่างน้อย 4 ส่วน จนสุดลำต้น เทคนิคการผ่ามีดต้องคม ผ่าจากปลายไปหาโคน โดยใช้กำลังมือตั้งมีดตอก และใช้มืออีกข้างดันหวายตามความถนัด บังคับอย่าให้บิดเบี้ยว หวายจะขาดกลางลำ
5.2 รีดหวาย ใช้มีดตอกรีดเอาไส้หวายออกให้เหลือส่วนที่เป็นเปลือกเท่านั้นจากนั้นสอดเข้าไปในรูแป้น รีดหวายทีละเส้น ค่อยๆ ดึงจนสุดเส้นหวาย และควรรีดให้ได้ขนาดเท่ากันเส้นหวายจะได้เป็นระเบียบสวยงาม
5.3 ตีลายลูกกรง ให้นำหวายหางหนูที่แช่น้ำ 10 ต้น มาดัดลูกกรงครั้งละ 2 - 4 ต้นจนครบ 10 ต้น และสุดลำต้น โดยใช้หวายวางทาบบนไม้ดัดลูกกรง และใช้ค้อนทุบเบา ๆ พอให้หวายหักมุมเท่านั้น
5.4 ดัดรูปทรงตะกร้า (กลม,เหลี่ยม,รี และอื่น ๆ)
5.5 การทำฐาน (ก้นตะกร้า)
5.5.1 นำไม้เจลยมาดัดเป็นวงกลมวงที่ 1 เส้นผ่าศูนย์กลาง 28 ซ.ม. หรือตามต้องการใช้ตะปูเข็มตอกยึดเอาไว้ จากนั้นใช้เส้นหวายที่รีดแล้วพันรอบวงกลม โดยพันเว้นช่องแต่พองาม
5.5.2 นำหวายน้ำที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ตีทับวงที่ 1 ใช้ตะปูเข็มตอก แล้วใช้เส้นหวายที่รีดมาพันรอบวงกลมทั้ง 2 วงให้ติดกันจนครบรอบวงกลม
5.5.3 ใช้หวายน้ำ 2 เส้น ที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ใช้ตะปูเข็มตอกยึดรอบวง เพื่อเป็นฐานรองรับก้นตะกร้าให้แข็งแรง
3.5.4 นำไม้เจลยจำนวน 8 ท่อน มีขนาดยาวเท่ากับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมตะกร้าตีกากะบาท 8 มุมตอกตะปูยึดกับวงกลม
3.5.5 ใช้เส้นหวายที่รีดแล้ว สานเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมคล้ายใยแมงมุม ความกว้างพอประมาณ (5 ซ.ม.)
5.5.6 ใช้หวายหางหนูทั้งต้นที่เลือกไว้มีขนาดเท่ากัน นำมาขดให้เต็มวงกลมคล้ายขดยากันยุงใช้เส้นหวายสานยึดแต่ละเส้นจนครบ สิ้นสุดการทำก้นตะกร้าโดยสมบูรณ์
5.6 การขึ้นลูกกรง
5.6.1 การขึ้นลูกกรง นำเหล็กแหลมเจาะที่ขอบฐานตะกร้าให้เป็นรู 5-7 ที่ตามจำนวนลูกกรง จากนั้นนำหวายลูกกรงที่เตรียมไว้เหลาปลายต้นทั้ง 5-7 ให้แหลม ใช้ปลายแหลมของลูกกรงสอดลงไปในรูที่เจาะไว้ ต่อจากนั้นใช้มือดัดลูกกรงขึ้นเป็นลวดลาย ใช้เส้นหวายสานยึดติดกับขอบฐานจนครบ
5.6.2 การใส่ขอบขั้น 1 (ภาษาพื้นเมืองสุรินทร์เรียกว่า ใส่กะนับ หรือ เอวตะกร้า) โดยนำต้นเจลยที่ดัดเป็นวงกลม มาวางทับกับลูกกรงชั้นที่ 1 ใช้เส้นหวายที่รีดแล้วสานยึดวงกลมกับลูกกรงไว้จนครบรอบวงกลม
5.6.3 นำหวายน้ำที่มีขนาดเท่ากับวงกลมวงที่ 1 ตีทับบนขอบวงกลมที่ 1 ตอกตะปูยึดทั้งสองวงกลมจนครบรอบ เสร็จตัวกระจาด 1 ชั้น ต่อไปก็เป็นการ ทำหูจับ
5.7 การทำหูจับ (มือจับ, หูหิ้ว)
5.7.1 ใช้หวายน้ำที่มีขนาดใหญ่พอสมควร มาดัดเป็นรูปโค้ง ใช้ตะปูตอกยึดทั้ง 2 ข้างติดกับฐานตะกร้าและขอบปากตะกร้าโค้งขนาดพอที่จะสอดนิ้ว
5.7.2 นำหวายมาทาบบนขอบตะกร้า และหูจับให้โค้งตาม ใช้ตะปูเข็มตอกยึดติดกันไว้โดยรอบ
5.7.3 ใช้เส้นหวายรีดพันรอบขอบปากตะกร้าและหูจับ เว้นช่องแต่ละช่องให้ พองามต่อไปก็สานจูงนางเพื่อให้เป็นลวดลายสวยงาม
6.การตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงาม
1. การทำความสะอาดเมื่อตะกร้าสกปรก มีเชื้อรา ฝุ่นจับ โดยมากชาวบ้านใช้วิธีธรรมชาติ เช่น นำผลมะเฟืองสุกรสเปรี้ยว ถูที่ตัวตะกร้าหรือจะเป็นมะนาวก็ได้ ต่อจากนั้นจึงล้างตากให้แห้งจะได้ตะกร้าที่สะอาด สวยงามตามธรรมชาติ
2. การทาน้ำมัน เพื่อให้ตะกร้ามีเงา ผิวมันสวยเป็นสีไม้ธรรมชาติ และป้องกันเชื้อราได้ด้วย ควรใช้น้ำมันวานิชสีใสเคลือบเงาหรือแลคเกอร์เบอร์ 6 ทาตามวิธีที่กำหนดในกระป๋อง
7.การดูแลรักษาหวาย
1. ผึ่งแดดให้แห้งสนิท
2. ไม่ควรเก็บหวายไว้ในที่ชื้น พื้นซีเมนต์ควรมีอากาศถ่ายเทได้
3. ใส่สิ่งของให้เหมาะกับขนาดตะกร้า
8.รายได้ของกลุ่มสานหวายบ้านบุทม
เงินที่ขายได้ทางกลุ่มจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 70 % ให้สมาชิกเป็นค่าผลิต 20 % เป็นเงินสวัสดิการคืนสมาชิกทั้งในรูปของผลกำไรปลายปี การรักษาพยาบาลต่าง ๆ และอีก 10 % เป็นค่าบริการจัดการของกลุ่ม นอกจากนี้การช่วยเหลือเผื่อแผ่ซึ่งกันและกันเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สามัคคีกันดังเช่นมัดหวายที่ร้อยสานกันเป็นรูปทรงที่สวยงามแข็งแรง ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มจึงจัดให้มีกิจกรรมออมทรัพย์ให้สมาชิกได้กู้เงินไปใช้จ่ายในการลงทุน รวมทั้งใช้ในสิ่งจำเป็นต่าง ๆ
บทสรุป
"หัตถกรรมหวายบ้านบุทม" อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ นอกจากจะสะดุดตากับพาชนะที่ทำมาจากหวายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่สวยงามแล้ว ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ชวนให้ผู้มาเยือน ตลอดจนลูกค้าต้องหันไปอ่านอย่างชื่นชม มันแสดงอะไรหลาย ๆ อย่างให้ผู้พบเห็นได้รับทราบ ทั้งความเป็นมา ความคิด และผลสำเร็จของชาวบุทม
เราควรช่วยกันส่งเสริมและอนุรักษ์งานหัตถกรรมท้องถิ่นไว้ให้ชนรุ่นหลังสืบต่อไป
นุชโกสินทร์ ศรีลา. “การสานหวายบ้านบุทม”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.mapculture.org
/index.php?option=com_content&task=view&id=326&Itemid=57, สืบค้น 1 ตุลาคม 2553.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น